Subscribe to out newsletter today to receive latest news administrate cost effective for tactical data.

Let’s Stay In Touch

Shopping cart

Subtotal ฿0.00

View cartCheckout

พาร์กินสันคืออะไร

  • Home
  • พาร์กินสันคืออะไร

โรคพาร์กินสัน

นับเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้บ่อยโดยพบประมาณร้อยละ 0.3 ของประชากรโดยรวม และในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี พบมากขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 1-2

กลไกการเกิดโรค เกิดจากมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่ผิดปกติตกตะกอนและสะสมอยู่ในเซลล์ประสาทที่สมองส่วนกลาง ทำให้เซลล์สมองบริเวณนั้นเสื่อมซึ่งเซลล์สมองบริเวณนี้ทำหน้าที่สำคัญในการผลิตสารสื่อประสาทที่เรียกว่าโดปามีน มีความสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายเมื่อมีการเสื่อมของเซลล์ประสาทจะส่งผลให้สารโดปามีนในสมองลดลงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติ

ปัจจัยเสี่ยง

  • อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน
  • สัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช
  • มีประวัติได้รับการบาดเจ็บของสมองชำ ๆ เช่น นักมวยเป็นต้น

การรักษา ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้การรักษาจึงมุ่งเน้นการบรรเทาอาการ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตเป็นปกติมากที่สุดปัจจุบันมีทั้งการรักษาด้วยยา การรักษาโดยไม่ใช้ยา และการรักษาขั้นสูง เช่น การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้า เป็นต้น