Subscribe to out newsletter today to receive latest news administrate cost effective for tactical data.

Let’s Stay In Touch

Shopping cart

Subtotal ฿0.00

View cartCheckout

การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน

  • Home
  • การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน

การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน

     การวินิจฉัยโรคพาร์กินสันในปัจจุบันอาศัยการซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ และวินิจฉัยจากอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Motor symptoms) ได้แก่  อาการสั่น (Tremor) อาการแข็งเกร็ง (Rigidity อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) หรือเคลื่อนไหวน้อย  (Hypokinesia)  มีการทรงตัวที่ไม่มั่นคง (Postural instability) และปัญหาการเดินติดขัด ร่วมกับอาการนอกเหนือการเคลื่อนไหว (Non-motor symptoms)

ภาพประกอบ 1

     ความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคพาร์กินสันด้วยประสาทแพทย์อยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 80 โดยเฉพาะเมื่อได้ตรวจติดตามอาการอยู่หลายครั้ง แต่หากเป็นโรคพาร์กินสันในระยะแรกที่อาการและอาการแสดงยังไม่มาก ความแม่นยำในการวินิจฉัยจะลดลง อยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 40-50  ทำให้การวินิจฉัยผู้ป่วยพาร์กินสันตั้งแต่ระยะเริ่มต้น (early stage) ทำได้ยาก และมีผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย (underdiagnosed) จำนวนมาก นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาทจำนวนจำกัด และในบางพื้นที่ยังขาดแคลนแพทย์สาขานี้ จึงทำให้ผู้ป่วยในบางพื้นที่เข้าถึงการตรวจวินิจฉัยและการรักษาได้ยาก ในปัจจุบันกว่าที่ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัย จึงมีอาการค่อนข้างมาก หรืออยู่ในระยะการดำเนินโรคระยะกลางแล้ว ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่มาก ผู้ป่วยเริ่มเกิดความทุพพลภาพและส่งผลต่อคุณภาพชีวิต